ข่าว/กิจกรรม กองการฝึก กองเรือยุทธการ


ประมวลหลักสูตร กฝร.

| หลักสูตรทั้งหมด | หลักสูตรตามแผนการฝึกและศึกษา กฝร. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ |
| หลักสูตรหลัก ความรู้พื้นฐานคนประจำเรือ ตามมาตรฐานการศึกษา IMO | หลักสูตรสนับสนุนหลักสูตร รร.นร.(ภาคปฏิบัติ) |
| ระเบียบ ทร.ว่าด้วยการศึกษาของ ยศ.ทร.พ.ศ.๒๕๖๖ |

หน่วยรับผิดชอบ แยกตามกอง : | กองฝึกเดินเรือและการเรือ | กองฝึกปฏิบัติการทางเรือ | กองฝึกการอาวุธ | กองฝึกศูนย์ยุทธการและสื่อสาร |
| กองฝึกการช่างกลและป้องกันความเสียหาย | กองพัฒนาและประเมินผลการฝึก | กองปกครอง |


หลักสูตรตามแผนการฝึกและศึกษา กฝร.

กองฝึกเดินเรือและการเรือ

# หลักสูตร ชั้นยศ/คุณสมบัติ ระยะเวลา (สัปดาห์) ความมุ่งหมาย
1 นายทหารใหม่ นว.(รร.นร.ต่างประเทศ) พ.ศ.2529 ร.ต.-ร.ท.(นว.ก.) ที่จบจากต่างประเทศ 5 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในวิชา ความรู้ทั่วไป ศูนย์ยุทธการและการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร การอาวุธ การป้องกันความเสียหาย และการสัมมนา ให้นายทหารที่สำเร็จใหม่จาก รร.นร.ต่างประเทศ ให้สามารถมารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเบื้องต้นในเรือ เช่น นปร. ต้นหน และ นสส. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2 นายทหารใหม่ รร.นร. พ.ศ.2530 ร.ต.(นว.ก./กล.ก./พธ.ก.) 4 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับนายทหารที่สำเร็จใหม่จาก รร.นร. เกี่ยวกับความรู้ทั่วไป การจัดส่วนราชการและระเบียบข้อบังคับ ระบบการซ่อมบำรุงตามแผน การป้องกันความเสียหาย ตลอดจนการดูงานกิจการต่าง ๆ ในพื้นที่ ให้สามารถปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติราชการขั้นแรกตลอดจนเข้ารับการอบรมหลักสูตรอื่น ๆ และการปฏิบัติราชการในเรือต่อไป
3 นายทหารใหม่กรมประมง พ.ศ.2534 ข้าราชการกรมประมงที่โอนมาสังกัด ทร. 4 เพื่อให้ข้าราชการกรมประมงที่จะได้รับการบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรใน ทร. มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการทางเรือและยุทธวิธี, การศูนย์ยุทธการและสื่อสาร, การอาวุธ, การป้องกันความเสียหาย และการจัดส่วนราชการและธุรการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยเรือ โดยเน้นให้มีความเข้าใจเบื้องต้นในการที่จะปฏิบัติงานในเรือ ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหลักสูตรที่จำเป็นอื่น ๆ ต่อเนื่องไปจนสามารถปฏิบัติราชการในเรือได้
4 ผบ.เรือขนาดเล็ก (นว.ข.) พ.ศ.2547 ร.ต.-ร.อ.(นว.ข.) 9 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปสำหรับผู้บังคับการเรือ การเรือใหญ่ การเดินเรือ การหมุนเรือหาดิวิเอชั่นของเข็มทิศ การหาที่เรือ ศูนย์ยุทธการและการสื่อสาร การอาวุธเรือขนาดเล็ก การป้องกันความเสียหาย ข้อพิจารณาของฝ่ายอำนวยการ ตลอดจนการฝึกกับเรือในทะเล ให้ผู้รับการศึกษาสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็น ผบ.เรือ หรือผู้ควบคุมเรือขนาดเล็ก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5 นายทหารประจำเรือพรรคนาวิน พ.ศ.2552 นายทหารสัญญาบัตรพรรคนาวิน (นว.ก.) 10 เพื่อทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้เข้ารับการอบรมสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ สำหรับนายทหารพรรคนาวินในเรือ ได้แก่ ต้นหน นายยามเรือเดิน นายยามเรือจอด นายยามศูนย์ยุทธการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6 ผบ.เรือขนาดเล็ก (นว.ก.) พ.ศ.2550 ร.ท.-ร.อ.(นว.ก.) 6 เพื่อทบทวน และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ผู้บังคับการเรือ การบริหารงานธุรการและการเงินภายในเรือ การเดินเรือ การช่างกลที่ผู้บังคับการเรือควรทราบ การอาวุธ และการป้องกันความเสียหาย ให้ผู้รับการศึกษาสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็น ผบ.เรือ หรือผู้ควบคุมเรือขนาดเล็ก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7 การบริหารงานเบื้องต้น พ.ศ.2552 ร.ท.-น.ต. 5 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในงานฝ่ายอำนวยการและการบริหารงานเบื่องต้น ให้แก่นายทหารชั้นนายเรือ ที่เลื่อนขึ้นมาจากนายทหารประทวน ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในระดับแผนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8 นายทหารสังเกตการณ์การฝึกในเรือ พ.ศ.2533 อสจ.และ สัญญาบัตร (ชาย) 1 เพื่อให้ อศจ. และนายทหารสัญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษาจากมหาลัย ได้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรือหลวง โดยเฉพาะการจัดประเภทและภารกิจของเรือใน ทร. การจัดส่วนราชการและการปฏิบัติงานในเรือ การเรือ การเดินเรือ การศูนย์ยุทธการเบื้องต้นและ อื่น ๆ เท่าที่จำเป็นเพื่อเป็นการเตรียมการขั้นต้นก่อนที่ผู้เข้ารับการอบรมจะลงเรือไปสังเกตการณ์การฝึกภาคปฏิบัติทางใช้การในทะเลกับ มฝ.นนร.(กลางปี) และ มฝ.นรจ.ซึ่งเมื่อผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนี้แล้ว ผู้เขข้ารับการฝึกอบรมจะมีประสบการณ์พื้นฐานในการเรียนรู้ และจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานใน ทร. ต่อไป
9 การเดินเรือด้วยเรดาร์ พ.ศ.2566 พลทหาร – น.อ.(พิเศษ) 2 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการหลบหลีกเรือตามกฎการเดินเรือสากล และการนำเรือ ด้วยเรดาร์ ให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10 การปฏิบัติการยามฝั่ง (สัญญาบัตร) พ.ศ.2553 ร.ต.-น.ท. 4 เพื่อฝึกอบรมนายทหารสัญญาบัตร ให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจยามฝั่งได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
11 เลื่อนยศนายทหารสัญญาบัตรกองหนุนพรรคนาวิน สังกัด กร. พ.ศ.2553 ร.ต.-ร.อ.(นว.) อายุไม่เกิน 45 ปี 30 วัน 270 ชม. เพื่อทบทวนเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ นายทหารสัญญาบัตรกองหนุนสังกัด กร.ที่เข้ารับการอบรม สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนายทหารประจำเรือ หรือเทียบเท่า รวมทั้งมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานกับกองเรือต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
12 ผู้บังคับการเรือ พ.ศ.2555 ร.อ.-น.ท. 5 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ผู้บังคับการเรือ การบริหารภายในเรือ กฎหมายระหว่างประเทศ การเดินเรือ การอาวุธ ศูนย์ยุทธการในการรบ การช่างกลและการป้องกันความเสียหาย การตรวจค้นรวมทั้งยุทธวิธีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ผู้บังคัการเรือควรทราบ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้ารับการศึกษาสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็น ผบ.เรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
13 การป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ (ระดับผู้บริหาร) พ.ศ.2540 น.ท.-น.อ. 1 เพื่อฝึกอบรมกำลังพลของกองทัพเรือ ให้มีความรู้ความสามารถในด้านการบริหาร การป้องกันและขจัดคราบน้ำมันในทะเล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
14 การป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ (ผู้ปฏิบัติระดับกลาง) พ.ศ.2540 ร.ต.-ร.อ. 1 เพื่อฝึกอบรมกำลังพลของกองทัพเรือ ให้มีความรู้ความสามารถในด้านการปฏิบัติ การขจัดคราบน้ำมันในทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
15 จ่ากองหนุนเหล่าสามัญ พ.ศ.2530 จ.ต.-จ.อ.(นว./ส.) 1 เพื่อทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในวิชา การเรือ เดินเรือ โดยเน้นเฉาพะเรื่องที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพรรคนาวิน เหล่าสามัญ ให้จ่ากองหนุน สังกัด กร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นกำลังพลทดแทนในเรือหลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
16 พันจ่ากองหนุนเหล่าสามัญ พ.ศ.2530 พ.จ.ต.-พ.จ.อ.(นว./ส.) 1 เพื่อทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในวิชา การเรือ เดินเรือ โดยเน้นเฉพาะเรื่องที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพรรคนาวินเหล่าสามัญ ให้พันจ่ากองหนุน สังกัด กร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นกำลังพลทดแทนในเรือหลวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
17 เจ้าหน้าที่ประจำดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ พ.ศ.2549 นายทหารประทวนทุกพรรคเหล่า 3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการตลอดจนสามารถปฏิบัติหน้าที่บนดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดูแล บำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ได้อย่างถูกต้อง
18 อาชีพเพื่อเลื่อนฐานะชั้นพันจ่าเอกเหล่าทหารสามัญ พ.ศ.2553 พ.จ.อ.(เหล่าทหารสามัญ) 8 เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ การเรือและเดินเรือ แก่พันจ่าเอกเหล่าทหารสามัญ ให้สามารถนำไป สอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร และปฏิบัติหน้าที่ตามอาชีพของพรรค - เหล่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
19 อาชีพจ่าเอกเหล่าทหารสามัญ พ.ศ.2549 จ.อ. 4 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในวิชา กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ การเรือและเดินเรือ แก่จ่าเอกเหล่าทหารสามัญ ให้สามารถนำไปสอบเลื่อนฐานะ เป็นพันจ่าเหล่าทหารสามัญ และปฏิบัติหน้าที่ตามอาชีพของพรรค - เหล่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
20 จ่าใหม่เหล่าทหารสามัญ พ.ศ.2566 จ่าใหม่เหล่าทหารสามัญ 8 เพื่อให้จ่าใหม่เหล่าทหารสามัญ มีความรู้ในวิชาการเรือทั่วไป การเรือใหญ่ การเรือเล็ก การเดินเรือ กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ยามตรวจการณ์ การป้องกันความเสียหาย ระบบการซ่อมบำรุงตามแผนการพลาธิการ งานสารบรรณ การเงิน ความรู้พื้นฐานของคนประจำเรือ และความปลอดภัยในการทำงาน อันจะทำให้สามารถนำไปปฏิบัติหน้าที่ตามอาชีพของพรรค - เหล่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
21 การป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ (ปฏิบัติระดับต้น) พ.ศ.2540 จ.ต.-พ.จ.อ. 1 เพื่อฝึกอบรมกำลังพลของกองทัพเรือ ให้มีความรู้ความสามารถในด้านการปฏิบัติ การขจัดคราบน้ำมันในทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
22 การปฏิบัติการยามฝั่ง ประทวน พ.ศ.2553 จ.ต.-พ.จ.อ. 3 เพื่อฝึกอบรมนายทหารประทวน ให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจยามฝั่งได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
23 เลื่อนยศเลื่อนฐานะนายทหารประทวนกองหนุน พรรคนาวิน สังกัด กร. พ.ศ.2554 จ.อ.-พ.จ.อ.(นว.) อายุไม่เกิน 38 ปี 30 วัน 270 ชม. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ นายทหารประทวนกองหนุน สังกัด กร. ที่เข้ารับการอบรม สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนายทหารประจำเรือ หรือเทียบเท่า รวมทั้งมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานกับกองเรือต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนได้รับการเลื่อนฐานะตามหลักเกณฑ์การเลื่อนยศของกำลังพลสำรองที่ ทร.กำหนด โดยบรรลุผลตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบกำลังสำรองของ ทร.
24 ผู้เชี่ยวชาญเดินเรือและการเรือ พ.ศ.2560 จ.อ. - พ.จ.อ. (นว./ส./ป./พิเศษ พธ.) 5 เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรม มีความเชี่ยวชาญเรื่องการเดินเรือและการเรือ พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงานและถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
25 พลทหารกองหนุนเหล่าสามัญ พ.ศ.2529 พลทหารกองหนุนสังกัด กร.(นว.ส.) 1 เพื่อเพิ่มพูนและทบทวนความรู้ในวิชา การเรือ และเดินเรือให้พลทหารกองหนุนสังกัด กร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ในเรือหลวงตามพรรค - เหล่า ของตนในการเป็นกำลังพลทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
26 กำลังพลประจำเรือพาณิชย์ (ฝ่ายช่างกลเรือ) พ.ศ.2546 ทหารกองประจำการ (กล.) 9 เพื่อฝึกอบรมทหารกองประจำการก่อนปลดเป็นกองหนุนของกองทัพเรือให้มีความรู้พื้นฐานสำหรับการปฏิบัติงานในเรือพาณิชย์ด้านจักรกลและ การเรือเบื้องต้นโดยให้สามารถบัติงานในเรือพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมารตฐานสากล รวมทั้งการสริมสร้างลักษณะของความเป็นชาวเรือ และทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพประจำเรือพาณิชย์
27 กำลังพลประจำเรือพาณิชย์ (ฝ่ายเดินเรือ) พ.ศ.2546 ทหารกองประจำการ (นว./ส./อว.) 8 เพื่อฝึกอบรมทหารกองประจำการก่อนปลดเป็นกองหนุน ของกองทัพเรือ ให้มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับการปฏิบัติงานในเรือพาณิชย์ฝ่ายเดินเรือ รวมทั้งการเสริมสร้างคุณลักษณะของความเป็นชาวเรือ และทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพประจำเรือพาณิชย์ โดยให้สามารถปฏิบัติงานในเรือพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
28 พลทหารใหม่ กร. เหล่าทหารสามัญ พ.ศ.2566 พลทหารใหม่ (ส.) 4 เพื่อให้พลทหารใหม่ กร.เหล่าทหารสามัญ มีความรู้เกี่ยวกับการเรือทั่วไป การเรือใหญ่ การเรือเล็ก ระเบียบข้อบังคับ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมทหาร การป้องกันความเสียหาย การสื่อสารตลอดจน ระบบซ่อมบํารุงตามแผน ระดับผู้ปฏิบัติ รวมถึงความรู้พื้นฐานของคนประจำเรือ ให้สามารถนําไปปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับพรรคเหล่าของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยในการปฏิบัติงานในเรือ
29 เครื่องมืออุปกรณ์เดินเรือและการเรือ พ.ศ.2547 จ.ต.-ร.อ. 2 เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้นำเรือและเจ้าหน้าที่ชุดตรวจค้นมีความรู้ความเข้าใจข้อกำหนดของกฎหมายต่าง ๆ ที่ให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำผิดทางทะเล วิธีปฏิบัติของการตรวจค้น รวมถึงเทคนิคพิเศษต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติการในทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
30 ชุดตรวจค้นจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายในทะเล พ.ศ.2563 จ.ต.-ร.อ. 3 เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้นำเรือและเจ้าหน้าที่ชุดตรวจค้นมีความรู้ความเข้าใจข้อกำหนดของกฎหมายต่าง ๆ ที่ให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำผิดทางทะเล วิธีปฏิบัติของการตรวจค้น รวมถึงเทคนิคพิเศษต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติการในทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
31 ทีมนำเรือด้วยเครื่องฝึกชุดนำเรือ พ.ศ.2557 จ.ต.-ร.อ. 5 วัน เพื่อทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้กับผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับ การเดินเรือ การหาที่เรือ กฎการเดินเรือสากล การนำเรือในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้รับการอบรมสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ บนสะพานเดินเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
32 เจ้าหน้าที่เครื่องฝึกชุดนำเรือ พ.ศ.2557 ร.ต.-น.ต. และนายทหารประทวน จ.ต.-พ.จ.อ. 2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องฝึกชุดนำเรือ การปฏิบัติในการเดินเรือด้วยเครื่องฝึกชุดนำเรือ ตลอดจนทำการฝึกเสริมประสบการณ์ในห้องฝึกชุดนำเรือ เพื่อให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
33 ครูฝึกประจำเครื่องฝึกจำลองสถานการณ์ในเรือ NMTC (Instrctor) พ.ศ.2565 จ.ต.-น.อ. 2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถในการเตรียมการฝึก ควบคุมการฝึก และสามารถแนะนำการใช้เครื่องฝึกจำลองสถานการณ์ในเรือ ให้กับกำลังพลที่เข้ารับการฝึกด้วยเครื่องฝึกจำลองสถานการณ์ในเรือ NMTC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
34 เจ้าหน้าที่ฐานข้อมลเครื่องฝึกจำลองสถานการณ์ในเรือ NMTC (Database) พ.ศ.2565 จ.ต.-น.ท. 2 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล (Database) ต่าง ๆ ที่ใช้ในโปรแกรมเครื่องฝึกจำลองสถานการณ์ในเรือ NMTC การใช้คำสั่งต่าง ๆ ในระบบเครื่องฝึก และการซ่อมบำรุงด้านซอร์ฟแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
35 เจ้าหน้าที่ฐานข้อมลเครื่องฝึกจำลองสถานการณ์ในเรือ NMTC (Maintenance) พ.ศ.2565 จ.ต.-น.ท. 2 เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมด ที่ใช้อยู่ในระบบเครื่องฝึกจำลองสถานการณ์ในเรือ NMTC การบำรุงรักษาระบบตามวงรอบ การติดตั้งและตรวจสอบระบบเครือข่าย การเชื่อมต่อและการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ Software Tool ในการตรวจสอบการทำงานของเครื่องฝึกฯ การสำรองข้อมูลของระบบ และการติดตั้งข้อมูลสำรองไว้เมื่อระบบเกิดความเสียหาย ซึ่่งสามารถปฏิบัติราชการในด้านการดูแลบำรุงรักษาตลอดจนการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องฝึกจำลองสถานการณ์ในเรือ NMTC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
36 การฝึกเตรียมความพร้อมสำหรับบุคคลเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว พ.ศ.2565 จ.ต.-ร.อ. 4 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
37 การดำรงชีพในทะเล พ.ศ.2566 พลทหาร – น.อ.(พิเศษ) 5 วัน เพื่อฝึกอบรมกำลังพลของกองทัพเรือให้มี ทักษะ ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต และการดำรงชีพในทะเล สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในเรือได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
38 นักศึกษาวิชาทหารส่วนของ กร.ชั้นปีที่ 5 พ.ศ.2534 นศท.ชั้นปีที่ 5 18 วัน เพื่อให้ นศท. ที่จะเป็นกำลังพลสำรองในส่วนของ กร.มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการทางเรือและยุทธการวิธี, การศูนย์ยุทธการและสื่อสาร, การอาวุธ, การป้องกันความเสียหายและการจัดส่วนราชการและธุรการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยเรือ โดยเน้นให้มีความเข้าใจเบี้องต้นในเรื่องที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในเรือให้เพียงพอที่จะเป็นกำลังพลสำรองในระดับนายทหารประจำเรือชั้นต้นได้
39 ฝึกภาคสนามนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 4 สังกัด ทร. พ.ศ.2536 นศท.ชั้นปีที่ 4 7 วัน เพื่อฝึกอบรมให้ นศท. ชั้นปีที่ 4 สังกัด ทร. ได้รับความรู้พื้นฐานทางวิชาการที่จำเป็น ปลูกฝังความรู้สึกและทัศนคติที่ดี ตลอดจนให้มีประสบการณ์เกี่ยวกับทหารเรือเบื้องต้น โดยมุ่งให้ส่งผลต่อเนื่องสำหรับการฝึกอบรม นศท. ต่อไปในชั้นปีที่ 5 ให้เป็นกำลังพลสำรองของ ทร. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
40 การตรวจค้นจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายในทะเล พ.ศ.2543 ร.ต. - น.ท. สังกัด กร. 2 เพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำเรือและหัวหน้าชุดตรวจค้นมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำหลักปฏิบัติของการตรวจค้น ข้อกำหนดทางกฎหมายไปใช้ในการปฏิบัติการในทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่ในขอบเขตอำนาจที่รัฐกำหนด
41 ครูทหาร พ.ศ.2552 จ.ต. - พ.จ.อ.(นว.ส./ป./ตป.,กล.) 1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวิชาครูทหาร ให้ผู้เข้ารับการศึกษาสามารถนำไปเป็นหลักดำเนินการสอนในการปฏิบัติหน้าที่ครูผู้ฝึกสอนวิชาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
42 การจัดพัสดุในเรือ พ.ศ.2530 จ.ต. - จ.อ.(นว./กล.) 1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับหลักและวิธีการสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัสดุในเรือ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับพัสดุ ตลอดจนการจัดรับพัสดุในเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
43 การตรวจค้นจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายในทะเล (ประทวน) พ.ศ.2549 จ.ต. - พ.จ.อ. สังกัด กร. 2 เพื่อฝึกฝนกำลังพลของกองเรือยุทธการ หรือกำลังพลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตรวจค้นจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายในทะเลในกรณีต่าง ๆ ให้มีความรู้ความสามารถนำหลักการและแนวทางในการตรวจค้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
44 เจ้าหน้าที่ธุรการในเรือ พ.ศ.2550 จ.ต.-พ.จ.อ.(นว.ส./ป./ตป.), จ.ต.-จ.อ.(กล.) 1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ เสมียนธุรการในเรือ เสมียนการเงินใน และเสมียนช่างกลในเรือ ให้สามารถนำความรู้ไปเป็นหลักปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
45 การฝึกนักศึกษาวิชาทหารภาคปฏิบัติ ชั้นปีที่ 3 นศท.ชั้นปีที่ 3 1
46 การฝึกนักศึกษาวิชาทหารภาคทฤษฎี ชั้นปีที่ 3 นศท.ชั้นปีที่ 3 1
47 พื้นฐานคนประจำเรือเบื้องต้น นนร.ชั้นปีที่ 2 14 วัน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในเรือเกี่ยวกับความปลอดภัยความรับผิดชอบบนเรือ การป้องกันและดับไฟในเรือ การดำรงชีพในทะเลล การใช้ยานดำรงชีพเรือช่วยชีวิต และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตามที่อค์กรทางทะเลระหว่างประเทศกำหนด เพื่อให้สามารถปฏิบัตานในเรือได้อย่างมีประสิทธาพ
48 นนร.ชั้นปีที่ 2 7 วัน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบในหลักการทำงาน ส่วนประกอบ และคุณลักษณะของแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความชำนาญในการใช้แผนที่อิเล็กทรอนิกส์ สามารถวางแผนเส้นทางการเดินเรือด้วยแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถจับเป้าด้วยแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ได้
หน่วยรับผิดชอบ แยกตามกอง : | กองฝึกเดินเรือและการเรือ | กองฝึกปฏิบัติการทางเรือ | กองฝึกการอาวุธ | กองฝึกศูนย์ยุทธการและสื่อสาร |
| กองฝึกการช่างกลและป้องกันความเสียหาย | กองพัฒนาและประเมินผลการฝึก | กองปกครอง |

ที่ตั้ง กองการฝึก กองเรือยุทธการ
เลขที่ 2041 หมู่ 1 ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 20180 โทร.02 475 7380 ต่อ 72717 e-mail กฝร.