ศูนย์การเรียนรู้อินทรีย์วิถีไทย กฝร.

ที่นี่มีอะไร

11) ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

การเกษตรในแปลงปลูก

เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการปลูกพืชที่ต้องมีความหลากหลาย คือ ป่าไม้กินได้ เช่น ผักสวนครัวหรือผลไม้ ป่าไม้ใช้สอย เช่น ป่าไม้โตเร็วที่นำมาใช้ประโยชน์ คือ สร้างคอกสัตว์ ทำอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงเป็นผลพลังงาน เช่น ไม่ไฟ และป่าไม้ขนาดใหญ่ เช่น ตะเคียน ยางนา พยุง ไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจ จะมีมูลค่าในอนาคต หรือสำหรับสร้างบ้านเรือน เมื่อมีป่าทั้ง 3 อย่าง จึงนำไปสู่การมีประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศเกิดความชื้น ความร่มเย็น คืนความสมดุลให้กับพื้นที่ในที่สุด จึงเป็นที่มาของการปลูกเรือนไม้ 5 ชั้น ให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า ประกอบด้วย

การเกษตรในแปลงปลูก

ไม้ชั้นที่ 1 ต้นไม้ใหญ่ เรือนไม้สูง แผ่กิ่งก้านกว้าง ได้แก่ ตะเคียนทอง สักทอง พะยูง มะค่า ยางนา ไม้แดง ประดู่

ไม้ชั้นที่ 2 เป็นเรือนไม้ระดับกลาง ได้แก่ ขี้เหล็ก กระถิน ไผ่ มะกรูด มะนาว มะพร้าว ส้มโอ กระท้อน ทุเรียน มะม่วง ดอกแค กล้วย ชะอม ฝรั่ง มังคุด ลำไย

ไม้ชั้นที่ 3 เป็นไม้ชั้นเตี้ย ไม้ชั้นเตี้ย ไม้ทรงพุ่ม เช่น พริก มะเขือ กระเพรา มะละกอ ตะไคร้ ทานตะวัน ดาวเรือง และพืชสมุนไพรต่าง ๆ

การเกษตรในแปลงปลูก

ไม้ชั้นที่ 4 ไม้เลื้อยต่าง ๆ เช่น บวบ ฟัก ถั่ว แตงกวา มะระ ตำลึง สลิด ชมจันทร์ ฟักข้าว เสาวรส ผักปลัง

ไม้ชั้นที่ 5 พืชหัวฝังดิน เป็นขุมทรัพย์ยามขาดแคลน ได้แก่ ขิง ข่า หอม กระเทียม เผือก มันเทศ มันพร้าง มันมือเสือ มันเลือด มัน 5 นาที

ศูนย์การเรียนรู้อินทรีย์วิถีไทย กฝร.