ความเป็นมา

ศูนย์การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร

จากจุดเริ่มต้น พล.ร.ต.เบญญา บุญส่ง ผบ.กฝร. (ขณะนั้น) ท่านได้มีแนวความคิดที่จะให้พลทหารกองประจำการในส่วนของกองเรือยุทธการ ที่เข้ามารับการฝึกอบรม ประมาณ 1,200 นายต่อปี เพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำความรู้ที่นำไปพัฒนาศักยภาพในการสร้างอาชีพหลังจากที่ปลดประจำการไปแล้ว กฝร. รวมทั้งกำลังพลและครอบครัวของ กฝร. กับประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพในการสร้างอาชีพหรือรายได้เพิ่มเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน จึงได้ร่วมมือกับ มูลนิธิ รักษ์ดิน รักษ์น้ำ (Earth safe Foundation) ด้วยการน้อมนำเอาแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นศาสตร์ความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ได้พระราชทานให้เหล่าพสกนิกรชาวไทยมาจัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้อินทรีย์วิถีไทย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบอินทรีย์วิถีไทยที่ครบวงจร ซึ่งมี ป่า นา และ น้ำ ตามศาสตร์พระราชา มีระบบการผลิตแหล่งอินทรีย์ และมีระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นพลังงานทดแทน จากเดิมในการดำเนินโครงการประมาณ 5 ไร่ เป็นพื้นที่เชิงเขา สภาพดินมีความเสื่อมโทรมในฤดูฝนมีน้ำหลากพัฒนาหน้าดินจนไม่สามารถทำการเกษตรได้ กฝร. จึงได้ออกแบบและจัดทำพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบอินทรีย์วิถีไทยที่ครบวงจรให้มี า นา น้ำ สามารถปลูกพืชผัก ทำนาข้าว และเลี้ยงสัตว์ ได้น้อมนำศาสตร์พระราชา โดยมีป่า ที่เรียก่า ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มีนาสำหรับปลูกข้าวไว้กิน และมีน้ำกักเก็บไว้เป็นแหล่งปัจจัยพื้นฐานสร้างความชุ่มชื้นในการเพาะปลูก

ด้วยสภาพการผลิตแบบอินทรีย์ มระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ภายในการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามทฤษฎี 9 ขั้นสู่ความพอเพียง เริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นานแล้วก็สู่ข้ันก้าวหน้าสามารถทำบุญแบ่งปัน นำไปสู่การสร้างรายได้ รวมกลุ่มกันเพื่อทำการผลิตและแปรรูปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าประกอบเป็นงานด้านอาชีพให้กับตนเอง ครอบครัว องค์กร และประเทศชาติ เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม และมีความยั่งยืน

ศูนย์การเรียนรู้อินทรีย์วิถีไทย กฝร. ได้จัดทำสถานที่เรียนรู้ที่สำคัญ และจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความสนใจ ประกอบด้วย 13 สถานี

ศูนย์การเรียนรู้อินทรีย์วิถีไทย กฝร.