ศูนย์การเรียนรู้อินทรีย์วิถีไทย กฝร.

ที่นี่มีอะไร

10) การจัดการน้ำ

การเกษตรในแปลงปลูก

เป็นการจัดการน้ำตามศาสตร์พระราชา ป่า นา น้ำ มาใช้ในพื้นที่กองการฝึก กองเรือยุทธการ ซึ่งมีสภาพพื้นที่เชิงเขาลาดชัน ในฤดูฝนเกิดปัญหาน้ำหลากลงจากเขาชะล้างน่าดินดีกลายเป็นพื้นที่ดินเสื่อมโทรม ประกอบกับมีลักษณะเป็นดินทราย ในฤดูแล้งเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรไม่สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้

การแก้ไขปัญหาจึงเริ่มด้วยการออกแบบพื้นที่ตามหลักภูมิสังคม โดยมีพื้นที่รับและกระจายน้ำทั้งพื้นที่ ดังนี้

 

    การเกษตรในแปลงปลูก
  1. สระเก็บน้ำที่ 1 อยู่บนพื้นที่สูง รับน้ำหลากจากภูเขา ดักตะกอนดิน ปุ๋ย น้ำฝนจากภูเขา
  2. สระเก็บน้ำที่ 2 รับน้ำส่วนเกินจากสระเก็บน้ำที่ 1 เพิ่มปริมาณพื้นที่เก็บน้ำขนาดใหญ่
  3. พื้นที่กระจายน้ำ (คลองไส้ไก่)
  4. 3.1 ประโยชน์อย่างที่ 1 รับน้ำล้นจากสระเก็บน้ำที่ 1 และ 2 โดยอาศัยพลังงานการไหลของน้ำจากที่สูงกระจายเข้าพื้นที่ส่วนกลาง หล่อเลี้ยงเหมือนเส้นเลือดในร่างกาย

    3.2 ประโยชน์อย่างที่ 2 คลองไส้ไก่ทำหน้าที่รับน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่ให้ได้ทั้งหมด 100% รวบรวมไม่ให้น้ำหลากไปที่อื่นโดยเปล่าประโยชน์

    3.3 ประโยชน์อย่างที่ 3 ทุกการเปลี่ยนแปลงของระดับพื้นที่ จะมีการสร้างฝายกั้นน้ำขนาดเล็ก ช่วยให้สามารถชะลอการไหลของน้ำที่รุนแรงจากที่สูง น้ำส่วนเกินไหลข้ามฝายกันน้ำส่วนที่ดักไว้ด้านล่าง จะซึมออกสองผั่งคลองไส้ไก่ สร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่ทั้งหมด

  5. สระเก็บน้ำที่ 3 อยู่บนพื้นที่ต่ำสุด รับน้ำจากพื้นที่ทั้งหมด และไหลเวียนกลับขึ้นสู่พื้นที่ด้านบน คือ สระเก็บน้ำที่ 1 ด้วยปั้มน้ำพลังแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำส่วนเกินเข้าพื้นที่อีกครั้ง
ศูนย์การเรียนรู้อินทรีย์วิถีไทย กฝร.